สรุป
แนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารและการจัดการ
ความหมายของการบริหารและการจัดการ
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันใช้ศาสตร์
และศิลปะในการดำเนินการ โดยนำเอาทรัพยากรทางการบริหารมาประกอบตามกระบวนการ
บริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดองค์การ หมายถึง การกำหนดโครงสร้างองค์การ เพื่อให้สิ่งของและบุคคลผู้
เข้ามาอยู่ในองค์การสามารถทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการ
ต่าง ๆ ในการสนับสนุนให้การดำเนินงานสามารถประสบความสำเร็จได้ตามที่วางแผนงานไว้
แนวคิดและทฤษฎีกูลิค และ เออร์วิค (Gulick & Urwick, 1937)
ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารไว้ 7 ด้านด้วยกัน เรียกย่อ ๆ ว่า POSDCoRB โดยมีลำดับขั้นต่อไปนี้
1. การวางแผน (Planning) การวางแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมทั้งวิธีการปฏิบัติงานตามแนวทางนั้น ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้
2 . การจัดองค์การ (Organizing) การจัดทำโครงสร้างแบบเป็นทางการของอำนาจหน้าที่การสั่งการ ซึ่งใช้ในการจัดแบ่งการกำหนดและการประสานของหน่วยงานย่อย ๆเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งไว้
3 . การบริหารบุคคล (Staffing)การจัดการด้านบุคลากรทั้งหมด ตั้งแต่การรับเข้าทำงาน การฝึกอบรม และการรักษาสภาพการทำงานได้ดีเสมอ
4 . การอำนวยการ (Directing) การดำเนินการในการตัดสินใจและสั่งการให้กิจการต่างๆ ดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผน ทั้งในลักษณะทั่วๆไป และในลักษณะเฉพาะรวมทั้งคำแนะนำซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้นำของหน่วยงาน
5 . การประสานงาน (Coordination) การร่วมมือกันในการปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ ให้ประสานสอดคล้องและกลมกลืน
6 . การรายงาน (Reporting) การจัดทำบันทึกการรายงานและการตรวจสอบ
7 . การงบประมาณ (Budgeti)การจัดสรรงบประมาณในรูปของการวางแผนการเงิน การทำบัญชี และการตรวจสอบ
แนวคิดและทฤษฎีบริษัท แม็คคินซี่ (McKinSey)
ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประสบการณ์การวิเคราะห์และให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แก่ธุรกิจต่าง ๆ ได้พัฒนาแบบจำลอง 7 -Sเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การต่างๆ
การใช้แนวคิด 7 -Sในการศึกษา สามารถอธิบายรายละเอียดของแบบจ าลอง 7 -S ได้ดังนี้
1. กลยุทธ์ (Strategy)
2. โครงสร้าง (Structure)
3. ระบบ (System)
4. รูปแบบ (Style)
5. บุคลากร (Staff)
6. ทักษะ (Skill)
7. ค่านิยมร่วม (Shared Value)
องค์ประกอบของการบริหารจัดการPOLC
การวางแผน (Planning)
การวางแผนเป็นเรื่องของการกำหนดความต้องการ วิธีการดำเนินการและคาดหมาย
ผลการดำเนินการในอนาคต โดยใช้หลักวิชาการ เหตุผล มีข้อมูลตัวเลขประกอบ มีการเสนอปัญหาเพื่อขจัดอุปสรรคที่จะมาถึงเป้าหมายข้างหน้าได้ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ว่าจะทำอะไร ที่ไหนเมื่อใดกับใครทำอย่างไรและทำเพื่ออะไรได้อย่างชัดเจน ซึ่งนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและได้ผล
การจัดองค์การ (Organizing)
องค์กรเป็นที่รวมของคนและงานต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานได้
อย่างเต็มที่เต็มความสามารถจึงจ าเป็นต้องแบ่งหน้าที่การท างาน และมอบหมายให้รับผิดชอบตาม
ความสามารถและความถนัดจึงเห็นว่าการจัดองค์การมีความจ าเป็น และก่อให้เกิดประโยชน์หลาย
ด้าน คือ ประโยชน์ต่อองค์การ ประโยชน์ต่อผู้บริหารและประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน
การนำ (Leading)
เป็นการใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจพนักงานให้ปฏิบัติงานและน าไปสู่ความส าเร็จตามเป้าหมาย
ที่ระบุไว้ หรือเป็นกระบวนการจัดการให้สมาชิกในองค์กรทำงานร่วมกันได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและเข้าใจถ่องแท้ได้ยาก การนำหรือการสั่งการจึงต้องใช้
ความสามารถหลายเรื่องควบคู่กันไป อาทิ ภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหาร การจูงใจการ
ติดต่อสื่อสารในองค์กร และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
การควบคุม (Controlling)
การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร ถือว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบ หรือติดตามผลและ
ประเมินการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของพนักงาน เพื่อรักษาให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางสู่
เป้าหมายอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ในเวลาที่ก าหนดไว้ องค์กรหรือธุรกิจที่
ประสบความล้มเหลวอาจเกิดจากการขาดการควบคุม หรือมีการควบคุมที่ไร้ประสิทธิภาพ และหลายแห่งเกิดจากความไม่ใส่ใจในเรื่องของการควบคุม ละเลยเพิกเฉย หรือในทางกลับกันคือมีการควบคุมมาก
จนเกิดความผิดพลาดขององค์กรเอง การควบคุมจึงเป็นหน้าที่หลักทางการบริหารที่มี
ความสำคัญ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการทางการบริหาร
การบริหารแบบ 4M (man, money, material & management) มาจากทฤษฎีทาง
เศรษฐศาสตร์ร่วมกับทฤษฎีทางการบริหารการผลิต
ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการจัดการองค์กร มีอยู่ 4 ประการที่รู้จักกันในนาม 4M ได้แก่
1. คน (Man) คือ ผู้ปฏิบัติการขององค์กร
2. เงิน (Money) คือ ค่าใช้จ่ายในองค์กร
3. วัสดุสิ่งของ (Materials) คือ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ทั้งอาคารสถานที่
4. การจัดการ (Management)คือ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทางด้านธุรกิจเอกชนหรือการจัดการธุรกิจ ได้เพิ่มอีก 2 ปัจจัย คือ ตลาด (Market) ส าหรับการจำหน่ายและการบริการและเครื่องจักร (Machine) ใช้สำหรับการผลิตสินค้า
ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดี-ข้อเสียของ POSDCoRB
ข้อดี
- องค์กรมีโอการประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมาย มีสายบังคับบัญชาเดียว
- สมาชิกองค์กรมีความเข้าใจวัตถุประสงค์องค์กร และ แบ่งสายงานชัดเจน ไม่สับสน
- ในหน่วยงานเดียวกัน มีความเข้มแข็ง เพราะเลือกสายอาชีพเดียวกันมาร่วมกันทำงาน
- ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ถูกที่ถูกงาน
- การประสานงานระหว่างหน่วยงานมีความสะดวก
- จัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนแต่ละส่วนได้อย่างเหมาะสม
ข้อเสีย
- เมื่อมีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน บางหน่วยงานอาจเลี่ยงปฎิบัติงานจนกว่าผู้บริการจะสั่งการลงมาโดยตรง
- อุปกรณ์หรือเครื่องมือบางชนิดที่อยู่นอกเหนือหน่วยงานตนเอง อาจต้องรอจนกว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบมาเป็นเมื่อการดำเนินงานให้
ข้อดี-ข้อเสียของ 7-S
แก่นสำคัญของ 7’S บังเอิญกลายเป็นอุปสรรคชิ้นสำคัญในการนำไปใช้ ซึ่งได้แก่การนำเอาด้าน Soft ไปใช้งานนั่นเอง ปัจจุบัน 7’S กลายเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งในรายการตรวจสอบทางด้านบริหารเท่านั้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง S ด้วยกัน หรือการวิเคราะห์หาความขัดแย้งกันเองในแต่ละ S กลายเป็นเรื่องที่ไม่ใคร่มีใครสนใจกันแล้ว ประกอบกับมีโมดลใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้งานทดแทนได้ดีกว่า ทำให้บทบาทลดน้อยลงไปจนเหลือเท่าที่เป็นอยู่
ข้อดี-ข้อเสียของPOLC
ข้อดี
1. เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
2. เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ
3. แลกเปลี่ยนความรู้/ความคิดเห็น
4. ปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5. เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ
ข้อเสีย
1. ทำให้ความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรดีขึ้นเกิดความตึงเครียดมากขึ้น
2. ขาดการประสานงาน/ความไม่สงบสุข
3. มีการก้าวร้าว กดขี่ และทำลายฝ่ายตรงข้าม
4. ฉวยโอกาสใช้ความขัดแย้งเป็นข้อเรียกร้อง
5. มุ่งเอาชนะมากกว่าจะมองผลกระทบ
6. นำไปสู่ความยุ่งเหยิง
7. ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ข้อดี-ข้อเสียของ 4M
ข้อดี
1. ไม่ต้องเสียเวลาแยกความคิดต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายของแต่ละสมาชิก
2. ทำให้ทราบสาเหตุหลัก ๆ และสาเหตุย่อย ๆ ของปัญหา ทำให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถูกวิธี
ข้อเสีย
1. ความคิดไม่เป็นอิสระ
2. ต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น