วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

1. ให้นักศึกษา ศึกษาเอกสารดังต่อไปนี้ แล้วอภิปรายผลว่า

1.1 การจัดการองค์กร มีความสำคัญอย่างไร

      ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน ได้นิยามความหมายของ "องค์กร" ไว้ว่าองค์กรเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์กรบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์กรบริหารธุรกิจ
      
1.2 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญอย่างไร

      การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคน การคัดเลือก บุคคลเข้าทำงาน การจัดวางตำแหน่งของบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนการจัดสวัสดิการ การจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทน การพิจารณาบทบาทหน้าที่และการควบคุมการทำงานของบุคลากรให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งกระบวนการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
       
  1. ระยะการคัดเลือกหรือได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์
  2. ระยะการควบคุมดูแลและรักษาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างปฏิบัติงานในองค์กร
  3. ระยะสุดท้าย คือการพ้นจากงาน การจัดสวัสดิการตอบแทนหลังเกษียณหรือการพ้นจากงานในกรณีอื่นๆเช่นการเลิกจ้าง


1.3 เหตุใดต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (บอก 5 ข้อ)
  1มีความสำคัญต่อการบริหารองค์กร
  2มีการวิเคราะห์ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
  3 การสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างทรัพยากรบุคคลก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารงาน
  4 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ยังช่วยรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพในการทำงานให้อยู่กับองค์กร
  5 การพัฒนาจัดสวัสดิการให้กับพนักงาน

   
  2. กรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษา เป็นผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ให้กำหนดวิธีการ ตามกระบวนการบริหารงานบุคคล 7 ขั้นตอน ว่าแต่ละกระบวนการนั้น ควรมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง

  1. การวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน
  2. วางแผนทรัพยากรมนุษย์
  3. สรรหาและการคัดเลือกพนักงาน
  4. ปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  5. ฝึกอบรมและการพัฒนา
  6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์
  7. ใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล และ การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน



3. ให้นักศึกษาวิเคราะห์และออกแบบการสร้างแรงจูงใจและวินัยในการทำงาน 9 ข้อ ให้ออกแบบในแต่ละขั้นตอนว่าจะทำอย่างไร


การสร้างแรงจูงใจ

  1. สื่อสารอย่างชัดเจนถึงความเชื่อมโยงระหว่างผลการปฏิบัติงานและผลตอบแทนของพนักงาน
  2. สร้างความมั่นใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถแยกแยะผู้มีผลการปฏิบัติงานดีได้
  3. ขจัดอุปสรรคในการทำงานที่สามารถส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการสนับสนุนพนักงาน เช่น งานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน
  4. เลือกคนให้เหมาะสมกับงานโดยคำนึงถึงคุณสมบัติของตำแหน่งงานและความสามารถของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งงานนั้น
  5. ติดตามและพัฒนาบรรยากาศในการทำงานโดยผู้นำต้องมีความสามารถและมีรูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสมเพื่อจูงใจพนักงาน
  6. มุ่งเน้นถึงผลตอบแทนที่ไม่ได้อยู่แค่ในรูปของเงินเท่านั้น เช่น โอกาสการเติบโตในหน้าที่การงาน การพัฒนาในด้านต่างๆ และการยกย่องชมเชยพนักงาน

วินัยในการทำงาน

      1.กฎหมายแรงงาน เช่น นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย เป็นต้น
     2.สัญญาจ้างแรงงาน เป็นข้อกำหนดที่นายจ้เาง ลูกจ้างตกลงกัน ต้องถือปฏิบัติต่อกัน
     3.ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นวินัยหลักที่นายจ้างกำหนดขึ้นเพื่อให้ลูกจ้างถือปฏิบัติ
     4.ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เกิดจากการเจรจาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แล้วตกลงกันเ็ป็นข้อที่ยึดถือปฏิบัติ
     5.คำสั่งของนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีอำนาจสั่งลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม
     6.ประกาศ เช่น นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี ลูกจ้างต้องถือปฏิบัติ
     7.ประเพณีปฏิบัติ โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดเล็กไม่เคยมีกฎระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร จะปฏิบัติต่อกันตามที่เคยทำมา ถือว่าเป็นระเบียบตามประเพณีที่เคยทำมา

     8.กฎต่าง ๆ เช่น กฎความปลอดภัย กฎว่าด้วยการใช้หม้อไอน้ำ
     9.ไม่เข้าใจกับไปอ่านทุกข้อใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น