วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
คุณธรรมและจริยธรรมของนักบริหารมืออาชีพ  1.      จงอธิบายความหมายของคุณธรรม  จริยธรรม และองค์ประกอบของจริยธรรม
  1. ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ
  2. การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ

  1.  องค์ประกอบทางจริยธรรม 

           
                    ความรู้เชิงจริยธรรม  หมายถึง  การมีความรู้ว่าการกระทำใดดีและเลว  ควรหรือไม่ควรปฏิบัติในทัศนะของสังคม  เป็นความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์  ค่านิยม  หลักธรรม  คำสอนที่เป็นปทัสถานของสังคม
              เจตคติทางจริยธรรม   หมายถึง  ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อลักษณะนั้น ๆ   เจตคติเชิงจริยธรรมของบุคคลอาจสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมก็ได้  เจตคติเชิงจริยธรรมจะรวม ความรู้และความรู้สึกในเรื่องนั้นเข้าด้วยกัน
               เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  และจะแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในการกระทำนั้น ๆ
        พฤติกรรมเชิงจริยธรรม  หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ  หรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ขัดต่อกฎเกณฑ์และค่านิยมของสังคม

2.     คุณธรรมมีแหล่งกำเนิดมาจากแหล่งใดบ้าง?    แหล่งกำเนิดคุณธรรมจากแหล่งภายนอก กับ แหล่งภายใน  อย่างไหนสำคัญกว่ากัน?   เพราะเหตุใด?

แหล่งกำเนิดคุณธรรมจริยธรรม

คุณธรรมจริยธรรมของบุคคลโดยทั่วไป   มีแหล่งก่อกำเนิดมาจาก  2 แหล่ง  ได้แก่
   1.3.1 แหล่งกำเนิดจากภายในตัวบุคคล  อริสโตเติลแยกแยะแหล่งที่เกิดคุณธรรมออกเป็น  2  ส่วน  คือ  คุณธรรมอันเกิดจากพุทธิปัญญา  (Intellectual virtue)  กับ คุณธรรมอันเกิดจากศีลธรรมจริยธรรม (Moral virtue)  คุณธรรมอันเกิดจากพุทธิปัญญา เป็นคุณธรรมในระดับปัจเจกบุคคล  ผู้ที่มีสติปัญญาจะสามารถพัฒนาจริยธรรมได้ด้วยหลักของการคิดไตร่ตรอง  ส่วนคุณธรรมอันเกิดจากศีลธรรมจริยธรรม เป็นคุณธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ด้วยการเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกัน  เป็นการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องซึ่งนำไปสู่สภาวะของความเป็นสุข
คุณธรรมทั้งสองที่มีแหล่งกำเนิดจากภายในตัวบุคคลนี้ มีพื้นฐานมาจากธรรมชาติเป็นตัว กำหนด ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ  ตัวกำหนดที่มาจากพันธุกรรม  และ ตัวกำหนดที่มาจากสภาพจิต
(1) ตัวกำหนดที่มาจากพันธุกรรม   มนุษย์เกิดมาพร้อมด้วยคุณภาพของสมองที่จะพัฒนาขึ้นเป็นความเฉลียวฉลาดด้านปัญญาโดยได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  ผ่านกระบวนการทางพันธุกรรม   การพัฒนาของสมองจะดำเนินไปตามรหัสพันธุกรรมที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เกิด   แม้ว่าการพัฒนาด้านการคิดและสติปัญญาจะเจริญพัฒนาต่อมาภายใต้อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม แต่คุณภาพสมองที่บุคคลได้รับการถ่ายทอดมาจะเป็นพื้นฐานเบื้องต้นซึ่งทำให้แต่ละบุคคลไม่สามารถพัฒนาได้เท่าเทียมกัน   
(2) ตัวกำหนดที่มาจากสภาพจิต  ได้แก่  ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี    ซึ่งเกิดจากมโนธรรมที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น คุณธรรมจริยธรรมจึงมีแหล่งกำเนิดจากคุณภาพสมองในการคิด  และคุณภาพของจิตที่สามารถแยกแยะความถูกความผิดได้เป็นพื้นฐาน   สภาพของจิตทำให้บุคคลสามารถจดจำสิ่งที่เป็นความเคียดแค้น บาดหมางใจ หรือ ความรู้สึกผิดตลอดเวลาที่เกิดจากการตัดสินพลาดพลั้งไป   สภาพของจิตจึงก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่อาจนำไปสู่ การมีคุณธรรมจริยธรรม และ การขาดคุณธรรมและจริยธรรม  ได้เท่า ๆ กัน

เนื่องจากคุณธรรม จริยธรรมมีความสัมพันธ์กับสติปัญญา  ดังนั้น  ผู้บริหารที่มีคุณสมบัติด้านสติปัญญาที่เหนือกว่าย่อมได้เปรียบในด้านการคิดและการแสวงหาเหตุผล ทำให้รู้จักพิจารณาผลที่จะบังเกิดขึ้นจากการกระทำของตน   นอกจากนี้ ยังสามารถคิดแก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักเหตุผลที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับความเดือดร้อนในภายหลังได้   

   1.3.2 แหล่งกำเนิดภายนอกตัวบุคคล   ได้แก่  กฎ  ระเบียบ  วัฒนธรรม สังคม คนรอบข้าง และสถานการณ์ที่บุคคลประสบอยู่  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเรากระทำความดี หรือละเว้นการกระทำในสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา  

3.      ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา  หากไร้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารงานจะเป็นอย่างไร?  และจะเกิดผลกระทบต่อใครบ้าง?
นอกจากจะทำให้ตนเองและสถาบันวิชาชีพตกต่ำแล้ว ยังจะทำให้สังคมและชาติบ้านเมืองต้องตกต่ำไปด้วย    ผู้นำที่ใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารงานย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองต่อวิชาชีพ และต่อสังคมหลายประการ